Sunday 8 August 2010

แจก Sound : Akon Na Na Na V.Dance (ผลงานดีเจซาบะ/นันทวันภาพยนตร์)

คุณภาพเสียง: 128 Kbps/44 KHz
ขนาดไฟล์ : 3.20 MB (3,362,481 bytes)
เวลาในการเล่น:03.30 Minute
รายละเอียดของไฟล์:

ดีเจซาบะบอกว่า

" ขอบคุณไปยังท่านเจ้าภาพทุกท่าน...
ขอบคุณไปทางแม่ครัวสาวสวย กะมม กะมม...
เอ้า สับกันหน่อยเร็ว...
ท่านที่ขอเพลงมาอีกสักครู่ครับ... "

http://www.mediafire.com/?ox0rrffucjw99sn

Saturday 31 July 2010

Sound เริ่มต้นนันทวันภาพยนตร์

Sound นี้เริ่มต้นด้วยซาวด์พิณบรรเลง(ร็อค) ที่บ้านใหม่...
งานทำบุญร้อย วัน อ.พินิจชัย ...
ดีเจซาบะบอกว่า "จาโดยแล้ว"....
ขอบคุณไปทางแม่ ครัวสาวสวย กะมม กะมม...
ช่วงนี้เรากำลังลองเล่นเสียงเพื่อให้เข้า บรรยากาศ...
คืนนี้ทุ่มสี่สิบ เตรียมมือถือ เราจะเปิดสายหน้าไมค์...
ขอบ คุณไปทาง เจ๊อีด เจ๊โป๊ย ...
เป็น Sound อีกหนึ่งชุดที่เดจีซาบะจัดได้มันส์มากครับ


www.mediafire.com/?enbbflazky6cwxm

Friday 30 July 2010

นันทวันภาพยนตร์



โดยส่วนตัวผมแล้วชื่นชอบหนังกลางแปลงมาตั้งแต่เด็กแล้ว ยังจำได้ว่าสมัยที่เป็นเด็กสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องเล่น VCD/DVD เลยครับ ตั้งนั้นเวลามีหนังกลางแปลงมาฉายที่บ้านจะชื่นชอบมาก เสน่ห์ของหนังกลางแปลงผมว่ามีอยู่ประมาณ 3อย่างคือ ขนาดของจอหนังและไฟเอฟเฟ็คประดับ , คุณภาพเสียงของลำโพง ,และ ดีเจที่เล่นเพลงก่อนหนังจะฉาย ถ้าขาด สิ่งใดส่ิงหนึ่งเหล่านี้ไปผมว่า เสน่ห์ของหนังกลางแปลงคงหายไปแน่นอนครับ ผมมีหน่วยหนังกลางแปลงที่เคยดูสมัยเป็นเด็กๆ และ ทุกวันนี้ยังคงคุณภาพของหนังกลางแปลงไว้ คือ นันทวันภาพยนตร์ ผมว่าหน่วยหนังนี้มีครบทั้งสามอย่างที่ผมพูดถึง ไม่ว่าจะเป็นขนาดจอหนังที่ใหญ่ (ใหญ่มากครับ ความสูงประมาณตึก สี่ ชั้น+ไฟเอฟเฟ็คที่สวยงาม และที่ขาดไม่ได้เลยคือคุณภาพของเสียงที่ดังขนาดว่าฝาโองที่บ้านผมสะเทือน ครับ(ไม่สะเทือนได้ไงครับตั้ง 48,000 วัตต์) และลีลาการจัดเพลงของดีเจซาบะ ที่มีลูกเล่นดึงดูให้ผู้ชมร่วมสนุกไปกับเพลง ผมว่าไปดูรายละเอี่ยดของหน่วยหนังคุณภาพนี้กันที่ด้านล่างเลยครับ

นันทวันภาพยนตร์ รับฉายหนังกลางแปลงทั่วไทย ระบบแสงชัดเต็มประสิทธิภาพ ระบบเสียงแบบ SRD สุดกระหึ่ม ขนาด 48,000 วัตต์ จอใหญ่ สูงเท่าตึก 4 ชั้น ใหญ่ที่สุดในไทย สะใจไปกับเสียงเพลงโดยดีเจซาบะ หนังใหม่ฉายชนโรง หนังทุกเรื่องเราซื้อเองและฉายเอง มีเครื่องปั่นไฟพร้อม ของทุกอย่างเรามีพร้อมไม่ต้องไปยืมใครท่านเจ้าภาพไว้วางใจได้

หรือใครสนใจติดต่อจ้างงาน(ที่อยู่และเบอร์ด้านล่างเลยครับ)

ในคิวรถ บขส.จ.สุรินทร์ โทร. 044-511492 มือถือ 081-5935559

ประวัติความเป็นมาของภาพยนตร์


ภาพประกอบทาง:อินเตอร์เน็ต


ผู้ที่คิดประดิษฐ์ ต้นแบบของภาพยนตร์ขึ้นคือ โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และผู้ร่วมงานของเขาชื่อ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William kenady dickson) เมื่อ พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกชื่อว่า "คิเนโตสโคป" (Kinetoscope) มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต มักเรียกชื่อว่า "ถ้ำมอง" มีลักษณะการดูผ่านช่องเล็กๆ ดูได้ที่ละคน ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ซึ่งถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kenetograph) ที่เอดิสันประดิษฐ์ขึ้นเอง ฟิล์มยาวประมาณ 50 ฟุต วางพาดไปมา เคลื่อนที่เป็นวงรอบ ผ่านช่องที่มีแว่นขยายกับหลอดไฟฟ้าด้วยความเร็ว 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาลดลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที


ต่อมาพี่น้องตระกู ลลูมิแอร์ (Lumiere) ชาวฝรั่งเศสได้พัฒนาภาพยนตร์ถ้ำมอง ของเอดิสันให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ และดูได้พร้อมกันหลายคน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์แบบนี้ว่า แบบ "ซีเนมาโตกราฟ" (Cinimatograph) ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2438 ต่อมาได้นำออกมาฉายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกตั้งแต่ พ.ศ. 2439 เป็นต้นมา ซึ่งคำว่า "ซีเนมา" (Cenema) ได้ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาถึงปัจจุบัน

ภาพยนตร์ที่สามารถฉายภาพให้ปรากฏบนจอขนาดใหญ่ ได้พัฒนาสมบูรณ์ขึ้นในอเมริกาในปี พ.ศ. 2438 โดยความร่วมมือระหว่างโทมัส อาแมท (Thomas Armat) ซีฟรานซิส เจนกินส์ (C. Francis Jenkins) และเอดิสัน เรียกเครื่องฉายภาพยนตร์ชนิดนี้ว่า ไบโอกราฟ (Bioghraph) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้นภาพยนตร์ได้แพร่หลายไปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เกิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายและบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศสและอเมริกา ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่อถ่ายทอดเหตุการณ์ ศิลปการบันเทิงและวรรณกรรมต่างๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางตลอดมา

พ.ศ. 2440 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งในครั้งนั้นได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส บันทึกภาพยนตร์การเสด็จถึงกรุงเบอร์นของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ม้วนแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับชนชาติไทย[1]

ภาพยนตร์ในปัจจุบันมีการเผยแพร่อยู่ 4 ทางคือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น vcd และ dvd เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต

ข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org/wiki